วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

International Trade Theories

International Trade Theories
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ
-ลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism)
หรือลัทธิ การค้านิยม มีแนวคิดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14-16 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ที่ต้องการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ และตลาดใหม่ เพื่อให้เกิดการค้า และความมั่งคั่ง โดยมีการสะสมโลหะมีค่าเช่นทองคำ หลักการค้าในสมัยนั้น จะเน้นการขายสินค้าของตนโดยไม่ยอมซื้อสินค้าจากชาติอื่น เพื่อความได้เปรียบ เรียกการค้าแบบนี้ว่า (Zero- Sum -Game) เช่น ประเทศฮอลันดา ในขณะนั้น
ผู้มีบทบาทในการเสนอทฤษฎีนี้ คือ โทมัส มุน

-ทฤษฎีการได้เปรียบโดยสมบูรณ์ (Absolute Advantage)
ทฤษฎีนี้นำเสนอโดย Adam Smith ชาวอังกฤษ โดยมีสมมติฐานว่า ในโลกนี้มีเพียง 2 ประเทศ และผลิตสินค้าเพียง 2 ชนิด เท่านั้น และมีปัจจัยการผลิตคือ แรงงานที่เท่ากัน
หากประเทศหนึ่งมีความได้เปรียบในการผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง คือ ใช้ต้นทุนคือแรงงานน้อยกว่า อีกประเทศหนึ่ง ก็ให้ประเทศนั้นผลิตสินค้าที่ตนเองได้เปรียบ
ในขณะเดียวกัน อีกประเทศหนึ่งที่ถนัดในการผลิตสินค้าอีกชนิดหนึ่ง ก็ให้ประเทศนั้นเลือกผลิตสินค้าชนิดนั้นไป
ผลของการใช้ทฤษฎีนี้ทำให้เกิดได้แก่
1. Division of labors (การแบ่งงานกันทำ)
2.Specialization (ความชำนาญเฉพาะด้าน)
3.The Wealth of Nations (ความมั่งคั่งของชาติ)

ตัวอย่าง
ประเทศไทย และประเทศสหรัฐอเมริกา มีการผลิตข้าวและน้ำมัน มี แรงงานประเทศละ 800 คน
ในการผลิตข้าว 1 ตัน และน้ำมัน 1 พันลิตร
ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา ความได้เปรียบ
ข้าว 20 40 1:2
น้ำมัน 80 20 4:1
หากแต่ละประเทศต่างผลิตสินค้าทั้ง 2 ชนิด โดยแรงงานอย่างละครึ่ง คือ 400 คน
จะได้
ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลผลิตโดยรวม
ข้าว 400/20=20 400/40=10 30
น้ำมัน 400/80=5 400/20=20 25
หากแต่ละประเทศเลือกผลิตสินค้าชนิดเดียวที่ตนเองได้เปรียบ ประเทศไทยเลือกผลิตข้าวอย่างเดียว และประเทศสหรัฐอเมริกาเลือกผลิตน้ำมันอย่างเดียว จะได้
ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลผลิตโดยรวม
ข้าว 800/20=40 0 40
น้ำมัน 0 800/20=40 40
จะเห็นว่า ทั้งข้าวและน้ำมันมีผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น
ข้าวเพิ่มขึ้น 40-30=10 ตัน
น้ำมันเพิ่ม 40-25=15 พันลิตร
จากนั้นจึงทำการค้าขายระหว่างกัน ไทย ขายข้าวให้ สหรัฐฯ 15 ตัน ไทยเหลือข้าวไว้บริโภคเอง 25 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งสองประเทศ
สหรัฐฯ ขาย น้ำมันให้ไทย 10 พันลิตร ไทยได้บริโภคน้ำมันเพิ่มจากเดิม 5 พันลิตร (50%) ส่วนสหรัฐฯ เหลือน้ำมัน 30 พันลิตร ซึ่งมากกว่าเดิม 10 พันลิตร
ทำให้ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์
-ทฤษฎีการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)
ทฤษฎีนี้ เป็นการมาช่วยเสริมทฤษฎีการได้เปรียบโดยสมบูรณ์ เพราะในความเป็นจริง บางประเทศอาจมีความชำนาญหรือได้เปรียบในการผลิตสินค้าทั้งสองชนิด ส่วนอีกประเทศหนึ่งด้อยกว่า ทำให้ไม่อาจเกิดการค้าระหว่างกัน จึงมีทฤษฎีนี้ขึ้นมา ในการให้ประเทศที่ได้เปรียบเลือกผลิตสินค้าชนิดเดียวที่ประเทศนั้นมีความถนัดมากกว่า และให้อีกประเทศหนึ่งผลิตสินค้าอีกชนิดแทน แต่ไม่ได้หมายความว่าต้อเลือกผลิตสินค้าชนิดเดียวกันอย่างเดียวเท่านั้น แต่ประเทศที่ได้เปรียบยังสามารถแบ่งผลิตสินค้าทั้งสอง ให้มีผลผลิตโดยรวมมากที่สุดได้
ตัวอย่าง
ประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ผลิต ข้าวและยางพารา โดยมีปัจจัยการผลิตคือแรงงานเท่ากัน คือ 800 คน
ในการผลิตข้าว 10 ตัน และการผลิตยางพารา 10 ตัน
ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ความได้เปรียบ
ข้าว 20 30 2:3
ยางพารา 20 25 2:2.5
หากแต่ละประเทศเลือผลิตสินค้าทั้ง 2 ชนิด ด้วยแรงงานอย่างละครึ่งจะได้ว่า
ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ผลผลิตโดยรวม
ข้าว 400/20=20 400/30=13.3 33.3x10=333
ยางพารา 400/20=20 400/25=16 36x10=360
หากเลือกผลิตตามทฤษฎีนี้ ประเทศไทยควรผลิตข้าว เพราะเปรียบกว่าผลิตยางพารา
ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ผลผลิตโดยรวม
ข้าว 680/20=34 0 34x10=340
ยางพารา 120/20=6 800/25=32 38x10=380
พบว่า ผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น หากประเทศไทยเลือกผลิตข้าว 680 คน และอีก 120 คนผลิตยางพารา ส่วนประเทศมาเลเซียเลือผลิตยางพาราเพียงอย่างเดียวจะทำให้ ผลผลิตโดยรวมของข้าวเพิ่ม 340-333=7 ตัน
ผลผลิตของยางพาราเพิ่ม 380-360 =20 ตัน
หากไทยขายข้าวให้มาเลเซีย 135 ตัน ไทยจะเหลือข้าวไว้กินเอง 205 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมทั้งคู่ และไทยสามรถซื้อยางพาราจากมาเซีย 150 ตัน ทำให้มาเลยเซียมียางพาราเหลือ 170 ตัน ซึ่งมากกว่าเดิม 10 ตัน
ทฤษฎีของแฮกเชอร์ ออแลง (Heckscher - Ohlin)
ทฤษฎีนี้เกี่ยวกับการพิจารณาปัจจัยด้านต่างๆ ในการผลิตสินค้าชนิดใดๆ ที่ได้เปรียบประเทศอื่น คือ เน้นปัจจัยที่ตนได้เปรียบเป็นหลัก เช่น ประเทศที่มีทุน มีเทคโนโลยีชั้นสูง ก็ควรผลิตสินค้าที่เป็นไฮเทคโนโลยี ส่วนประเทศที่มีดิน น้ำ อุดมสมบูรณ์ ก็ควร ผลิตสินค้าเกษตรกรรม เป็นต้น
ผู้โต้แย้งทฤษฎีนี้คือ ลีอองเทีย โดยให้ข้องสังเกตว่า ประเทศสหรัฐฯ แม้มีทุนในระดับสูง แต่กลับมีการส่งออกสินค้าพื้นฐานในการอุปโภค บริโภค ทั่วไป
นอกจากนี้ก็มีข้อสังเกตุว่า ประเทศไทยแม้ไม่มีเทคโนโลยีของตัวเอง แต่กลับเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าที่เป็นเทคโนโลยี เช่น รถยนต์ และ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์เป็นต้น
-ทฤษฎีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (The Product Life Cycle)
รูปแบบของการค้าระหว่างประเทศส่วนมากเกิดจากประเทศที่มีการพัฒนาก่อนแล้วค่อยกระจายตัวไปยังประเทศอื่นๆ และ ราคาก็ลดลงไป จนกระทั่งหมดความนิยม
แบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่
1.Introduction สินค้าเริ่มเข้าสู่ตลาด มีราคาส่วนใหญ่จะสูง เพราะตต้นทุนต่อหน่วยยังคงสูงอยู่ อีกทั้งยังคงใหม่มีน้อย หายาก จึงราคาสูง
2.Growth ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งมีอัตราสูงสุด และมีความนิยมในตัวสินค้าเป็นอย่างมาก
3. Maturity ยอดขายเพิ่มขึ้นสูงสุด แต่อัตราต่ำกว่าช่วงที่ 2 ซึ่ง มีการใช้กลยุทธต่างๆ เช่น การโฆษณา สินค้ามีราคาลดลง เพราะ ต้นทุนต่อหน่วยลดลง และ มีการลอกเลียนแบบสินค้ามาจำหน่าย
4. Decline ขั้นนี้ยอดขายลดลง ราคาอาจลดลงมากยิ่งขึ้น สินค้าเริ่มหมดความนิยมและ ต้องมีการพัฒนาสินค้าใหม่ขึ้นมาแทน
แต่ยังมีข้อโต้แย้งอยู่บ้างเพราะสินค้าบางชนิดก็ไม่เป็นไปตามทฤษฎีนี้
-ทฤษฎีความได้เปรียบในการแข่งขันระหว่างประเทศ (National Competitive Advantage)ผ
ผู้เสนอแนวคิดนี้ ชือ Porter ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ
1. Factor Endowment (ปัจจัยที่เป็นเจ้าของ หรือปัจจัยความพร้อมของการผลิต)
2.Demand Conditions (เงื่อนไขความต้องการของสินค้า)
3.Relating and Support Industries ( อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน)
4.Firm Strategy Structure and Rivalry (กลยุทธ์โครงสร้างและการแข่งขันของธุรกิจ)

วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วัฒนธรรมกับการจัดการระหว่างประเทศ (1)

วัฒนธรรม คือ วิถีทางการดำเนินชีวิต ประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งสืบทอดมา จากรุ่นสู่รุ่น
วัฒนธรรม มีเกาะกลุ่มกันระดับหนึ่ง แต่สามารถเปลี่ยนแปลง ได้เสมอ ซึ่งส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
วัฒนธรรมแต่ละสังคมแตกต่างกัน อิทธิพลที่ทำให้วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลง ได้แก่
1.คน
2.เศรษฐกิจ
3.สังคม
4.การเมือง
5.เทคโนโลยี

แนวทางที่ทำให้รู้จักวัฒนธรรม คือต้องเปิดใจให้กว้างและยอมรับความแตกต่าง
แม้ วัฒนธรรมของสังคมหนึ่งๆจะมีลักษณะเฉพาะ แต่คนในสังคมนั้นๆ ก็มิได้เหมือนกันหมดเพราะแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตัวเอง

ประเภทของวัฒนธรรม แบ่งตามหลักสากล คือ ใช้ประเทศเป็นตัวแบ่ง เพราะทำให้เห็นภาพได้ชัด เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมจีน ย่อมทำให้เราเห็นภาพชัด ตามลักษณะวัฒนธรรมของประเทศไทยหรือจีน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

วัฒนธรรมไทย มีข้อดี เช่น เป็นมิตร ยิ้มเก่ง สุภาพอ่อนน้อม มีน้ำใจ
ส่วนข้อเสีย คือ เป็นคนง่ายๆ ทำให้ขาดระเบียบ

แพททริกส์ เพื่อนของอาจารย์ชาวเยอรมัน บอกว่า กลัวการข้ามถนนในเมืองไทยมาก

อายุที่คนเราเริ่มมีวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชัดคือ ตั้งแต่ 10 ขวบขึ้นไป

ลักษณะการเกิดวัฒนธรรมมี 2 แบบ
1. Choice คือ สิ่งที่เราเลือก ว่าจะรับค่านิยมอะไร หรือื จะเชื่อสิ่งใด
2.Imposition คือ สิ่งที่คนอื่นใส่มาให้เรา เช่น คำสอนของพ่อแม่ ที่เราปฎิบัติตาม

คำที่ควรรู้
Culture Imperialism คือ วัฒนธรรมล่าอาณานิคม
Culture War คือ สงครามทางวัฒนธรรม
Creolization คือ การกลืนกินชาตอื่นด้วยวัฒนธรรม
ประเทศเกาหลีใต้ในปัจจุบันเป็นตัวอย่างในการกลืนกินชาติอื่นด้วยวัฒนธรรม อันได้แก่วัฒนธรรม สมัยใหม่ผ่าน สื่อ ต่างๆ เช่น ภาพยนต์ เพลง และอื่นๆ

มีคำพูดของคนสหรัฐอเมริกาคนหนึ่งกล่าวว่า วิธีชนะสงครามทางเศรษฐกิจ ต้องชนะสงครามทางวัฒนธรรม ทำให้สหรัฐอเมริกา ผลิตภาพยนต์ส่งขายทั่วโลก และประสบความสำเร็จในการเผยแพร่วัฒนธรรมอเมริกาไปทั่วโลก

องค์ประกอบทางวัฒนธรรม
1.ภาษา (Language)แบ่งเป็นภาษาที่ใช้ถ้อยคำ ภาษาท่าทาง และภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ ภาษาแบบใช้ถ้อยคำที่มีคนใช้มากที่สุดคือ จีนกลาง รองลงมาคือ ฮินดี เสปน และอังกฤษ การใช้ภาษาต้องคำนึงถึงระยะห่างของการสื่อสารด้วย เพราะแต่ละวัฒนธรรม มีไม่เหมือนกัน
2.ศาสนา (Religion) เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม พระพุทธศานา ขงจื้อ ชินโต เป็นต้น
3.วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material Culture)ได้แก่วัตถุสิ่ของต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมถึงความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่างๆ
4.การศึกษา (Education)ถือเป็นรากฐานของสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมบุคคลในสังคม เพื่อเป็นปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งผลหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ หรือ ทัศนคติของคนในสังคมนั้นๆ
5.องค์กรทางสังคม(Sociatal Organization)
6.ความรักสวยรักงามและรสนิยม (Aestetice)
7.ทัศนคติและความเชื่อ (Attitude and Beliefs)

กิจกรรม
อาจารย์ให้คิด ว่าประเทศไทยจะ Creolization ชาติอื่น ด้วยอะไรและอย่างไรได้บ้าง
กลุ่มผม
1.มวยไทย ผ่านภาพยนตร์ เช่น องค์บาก ที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก และ การเปิดสำนักฝึกมวยในต่างประเทศ
2.อาหารไทย เช่น ต้มยำกุ้งที่เป็นที่รู้จัก ควรเปิดร้านอาหารไทย ที่เป็นเอกลักษณ์ให้เหมาะสมกับประเทศต่างๆ ดูตัวอย่างร้านอาหาร Fast Food (Macdonal) ถ้าเรามีร้านของไทยแบบนี้ไปทั่วโลก วัฒนธรรมด้านอาหารของเราจะสามารถกลืนกินวัฒนธรรมชาติอื่นได้
3.พระพุทะศาสนา ในแง่ศาสนา เรามีพระพุทะศาสนาเป็นที่ผึ่งอันประเสริฐ อันช่วยให้สังคมมีที่ยึดเหนี่ยวให้เกิดความอบอุ่นในจิตใจ ดังนั้นควรเผยแผ่ธรรมะ ของพระพุทะเจ้าไปทั่วโลก โดยการเผยแผ่ทางสือต่างๆ รวมถึงการเปิดสำนักปฎิบัติธรรมในประเทศอื่นๆ

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สภาพแวดล้อมภายนอก

สัปดาห์นี้ เรียนเรื่อง สภาพแวดล้อมในการบริหารธุรกิจ
ได้แก่สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกของธุรกิจ
สภาพแวดล้อมภายนอก (External Environment) ได้แก่ 4 ปัจจัยใหญ่ๆ
1.Politics & Laws การเมืองและ กฎหมาย
2.Economics
3.Social & Culture
4.Technology
เราต้องวิเคราะห์ปัจจัยทั้ง 4 ข้อนี้ก่อนจะตัดสินใจไปลงทุนต่างประเทศ
เรียกว่า การวิเคราะห์ PEST หรือ STEP Analysis

Domestic Environment คือ สภาพแวดล้อมภายในประเทศ
Foreign Environment คือ สิ่งแวดล้อมภายนอกประเทศ

Politics & Law อธิบายได้หลายแง่
การเมืองหรือการปกครองในประเทศต่างๆ มีหลายระบอบ แบ่งเป็น 2 ระบอบใหญ่ๆ คือ

1.ระบอบประชาธิปไตย Democracy
2.ระบอบเผด็จการ
2.1 ระบอบคอมมิวนิสต์ เช่น สหภาโซเวียดในอดีต ประเทศจีน
2.2 ระบอบเผด็จการทางศาสนา เช่น ประเทศในแถบตะวันออกกลาง
2.3 เผด็จการทางเผ่าพันธุ์ เช่น ประเทศยูกันดา ประเทศแทนซาเนีย และประเทศโมแซมบิก
2.4 เผด็จการขวาจัด (ปัจจุบันไม่มีแล้ว) ในอดีต เคย มี เยอรมันนีสมัยอิตเลอร์

ความเสี่ยงจากการเมือง
-ความเสียงจากการโอนทรัพยากร
-ความเสี่ยงจากการดำเนินการ
-ความเสียงจากอัตราส่วนความเป็นเจ้าของ
-ความเสี่ยงที่เกิดจากเหตุการณ์ทางการเมืองชั่วคราว

กฏหมาย แบ่งได้ 3 แบบใหญ่ๆ
1.Common Low คือ กฏหมายจารีตประเพณี ประเทศที่ใช้กฏหมายประเภทนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ
2.Civil Low คือ กฏหมายที่เป็นลายลักอักษร ประเทศที่ใช้กฏหมายประเภทนี้ เช่น ประเทศ ฝรั่งเศส เยอรมันนี ไทย เป็นต้น
3.Theocratic Low คือ กฏหมายที่ใช้หลักศาสนาในการบัณญัติเป็นกฏหมาย ประเทศที่ใช้กฏหมายประเทศนี้ เช่น ประเทศในแถบตะวันออกกลาง คือใช้หลักของศาสนาอิสลาม เช่นประเทศซาอุดิอาระเบีย ประเทศสหรัฐอาหรับอิมมิเรท

เศรษฐกิจ
ทรัพสินทางปัญญา แบ่งได้ 3 ประเภท
1. เครื่องหมายการค้า (Trademark)
2.ลิขสิทธิ์ (Copy Right)
3.สิทธิบัตร(Patent)
การละเมิด เช่น ปลอมแปลง การปรับเครื่องหมายการค้า และการลักลอบผลิต

วันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ปฐมนิเทศ

สัปดาห์ที่แล้วไม่มีเรียนวิชา IB321 เนื่องจากมีกิจกรรมปฐมนิเทศของภาค
กิจกรรมนี้ก็ทำให้ได้พบปะรุ่นพี่ปีสี่ รู้สึกดีใจ และคงได้รู้จักรุ่นพี่มากขึ้น
สำหรับกิจกรรมในวันนั้นก็ได้รู้จักคณาจารย์ของภาค IBM และกิจกรรม
ให้พี่หรัส ซึ่งผมยังไม่ได้พบพี่รหัสเลย ก็หวังว่ากิจกรรมรับน้องในวันอาทิตย์นี้จะได้มีโอกาสรู้จักพี่รหัส

วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 2
วันที่ 12 มิถุนายน 2552 วันนี้เป็นคาบแรกที่ผมได้เริ่มเรียนวิชา IB321 ได้พบอาจารย์เป็นครั้งแรก รู้สึกดีใจเป็นอย่างยิ่ง อาจารย์ที่สอนมีอุปนิสัยร่าเริง ชอบพูดจาตลกขบขัน สร้างบรรยากาศที่ดี เป็นกันเองกับนักศึกษา แม้ว่ามุขตลกของท่านจะไม่ค่อยขำเท่าไรนัก แต่ก็ดีกว่า ดุ จะทำให้เด็กเครียดได้ และหากเด็กเครียดมากๆก็ส่งผลร้ายต่อจิตใจ อาจเป็นเด็กมีปัญหาได้
ในคาบนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับ คำว่า “Globalization” หรือ แปลเป็นไทยว่า “โลกาภิวัตน์” ซึ่งหมายถึงโลกยุคใหม่ที่ไร้พรมแดน หรือโลกที่เป็นหนึ่งเดียว เนื่องจากว่าเทคโนโลยีที่เจริญก้าวหน้า ในด้าน การสื่อสาร และการคมนาคมเป็นเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความสะดวกในการเคลื่อนย้ายปัจจัยต่างๆ ข้ามประเทศ หรือข้ามทวีป เช่น ปัจจัยการผลิต ทรัพยากรต่างๆ ทุน แรงงาน ฯลฯ เพื่อย้าฐานการผลิตให้การผลิตมีต้นทุนถูกลง ประเทศที่มีทุนมากเช่นในสหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือ ญี่ปุ่น มักจะมาลงทุนในประเทศที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศ ไทย จีน เวียดนาม เหล่านี้เป็นต้น และ การเกิดค้าระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ด้วยความเจริญด้านเทคโนโลยี ส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้าได้ทั่วโลก ไม่เพียงแต่ด้านธุรกิจเท่านั้น แต่กระแสโลกาภิวัตน์ยังส่งผลต่อการเมือง สังคม และวัฒนธรรมอีกด้วย เช่น การเมืองของสหรัฐอเมริกา ชาวโลกต่างให้ความสนใจมาก เช่นในการเลือกตั้งประธานาธิบดี หลายคนก็จะสนใจมาก ก็เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศมหาอำนาจ ในทุกๆด้านทำให้มีอิทธิพลต่อโลกมาก ทำให้ทั่วโลกจับตามอง ว่าใครจะมาเป็นผู้บริหารสูงสุด และจะมีนโยบายอย่างไรบ้าง จะส่งผลกระทบต่อตัวเราอย่างไรเป็นต้น ส่วนข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้น ทุกๆประเทศบนโลกสามารถรับรู้ได้อย่างรวดเร็วมาก หรือทันที่เลยก็ว่าได้ ทำให้เราเสมือนเชื่อมเข้าหากัน มีการสัมพันธ์กันในทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เสมือนโลกได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียว
ต่อมาเป็นเรื่อง Project (IB Edutainment) ซึ่งนักศึกษาต้องทำ โดยแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน หลังจากนั้นให้แต่ละกลุ่มเลือกประเทศ และบริษัทที่มีการทำธุรกิจในต่างประเทศเช่นบริษัทของญี่ปุ่นที่มาลงทุนในประเทศไทย หรือ บริษัทของไทยที่ไปทำการค้าที่ญี่ปุ่น เป็นต้น โดยให้ทำเป็นรายงานและนำเสนอ Project นี้ในงาน IB Edutainment 2009 ต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2552

Week 1

คาบแรกไม่ได้เข้าเรียน แต่คาบต่อไปคงจะเข้าแน่ๆ ผมรู้สึกตื่นเต้นเล็กน้อยที่จะได้เรียนวิชานี้