วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2552

International Trade Theories

International Trade Theories
ทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ
-ลัทธิพาณิชย์นิยม (Mercantilism)
หรือลัทธิ การค้านิยม มีแนวคิดมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 14-16 ซึ่งเป็นยุคล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ที่ต้องการแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติ และตลาดใหม่ เพื่อให้เกิดการค้า และความมั่งคั่ง โดยมีการสะสมโลหะมีค่าเช่นทองคำ หลักการค้าในสมัยนั้น จะเน้นการขายสินค้าของตนโดยไม่ยอมซื้อสินค้าจากชาติอื่น เพื่อความได้เปรียบ เรียกการค้าแบบนี้ว่า (Zero- Sum -Game) เช่น ประเทศฮอลันดา ในขณะนั้น
ผู้มีบทบาทในการเสนอทฤษฎีนี้ คือ โทมัส มุน

-ทฤษฎีการได้เปรียบโดยสมบูรณ์ (Absolute Advantage)
ทฤษฎีนี้นำเสนอโดย Adam Smith ชาวอังกฤษ โดยมีสมมติฐานว่า ในโลกนี้มีเพียง 2 ประเทศ และผลิตสินค้าเพียง 2 ชนิด เท่านั้น และมีปัจจัยการผลิตคือ แรงงานที่เท่ากัน
หากประเทศหนึ่งมีความได้เปรียบในการผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง คือ ใช้ต้นทุนคือแรงงานน้อยกว่า อีกประเทศหนึ่ง ก็ให้ประเทศนั้นผลิตสินค้าที่ตนเองได้เปรียบ
ในขณะเดียวกัน อีกประเทศหนึ่งที่ถนัดในการผลิตสินค้าอีกชนิดหนึ่ง ก็ให้ประเทศนั้นเลือกผลิตสินค้าชนิดนั้นไป
ผลของการใช้ทฤษฎีนี้ทำให้เกิดได้แก่
1. Division of labors (การแบ่งงานกันทำ)
2.Specialization (ความชำนาญเฉพาะด้าน)
3.The Wealth of Nations (ความมั่งคั่งของชาติ)

ตัวอย่าง
ประเทศไทย และประเทศสหรัฐอเมริกา มีการผลิตข้าวและน้ำมัน มี แรงงานประเทศละ 800 คน
ในการผลิตข้าว 1 ตัน และน้ำมัน 1 พันลิตร
ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา ความได้เปรียบ
ข้าว 20 40 1:2
น้ำมัน 80 20 4:1
หากแต่ละประเทศต่างผลิตสินค้าทั้ง 2 ชนิด โดยแรงงานอย่างละครึ่ง คือ 400 คน
จะได้
ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลผลิตโดยรวม
ข้าว 400/20=20 400/40=10 30
น้ำมัน 400/80=5 400/20=20 25
หากแต่ละประเทศเลือกผลิตสินค้าชนิดเดียวที่ตนเองได้เปรียบ ประเทศไทยเลือกผลิตข้าวอย่างเดียว และประเทศสหรัฐอเมริกาเลือกผลิตน้ำมันอย่างเดียว จะได้
ประเทศไทย ประเทศสหรัฐอเมริกา ผลผลิตโดยรวม
ข้าว 800/20=40 0 40
น้ำมัน 0 800/20=40 40
จะเห็นว่า ทั้งข้าวและน้ำมันมีผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น
ข้าวเพิ่มขึ้น 40-30=10 ตัน
น้ำมันเพิ่ม 40-25=15 พันลิตร
จากนั้นจึงทำการค้าขายระหว่างกัน ไทย ขายข้าวให้ สหรัฐฯ 15 ตัน ไทยเหลือข้าวไว้บริโภคเอง 25 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นทั้งสองประเทศ
สหรัฐฯ ขาย น้ำมันให้ไทย 10 พันลิตร ไทยได้บริโภคน้ำมันเพิ่มจากเดิม 5 พันลิตร (50%) ส่วนสหรัฐฯ เหลือน้ำมัน 30 พันลิตร ซึ่งมากกว่าเดิม 10 พันลิตร
ทำให้ต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์
-ทฤษฎีการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (Comparative Advantage)
ทฤษฎีนี้ เป็นการมาช่วยเสริมทฤษฎีการได้เปรียบโดยสมบูรณ์ เพราะในความเป็นจริง บางประเทศอาจมีความชำนาญหรือได้เปรียบในการผลิตสินค้าทั้งสองชนิด ส่วนอีกประเทศหนึ่งด้อยกว่า ทำให้ไม่อาจเกิดการค้าระหว่างกัน จึงมีทฤษฎีนี้ขึ้นมา ในการให้ประเทศที่ได้เปรียบเลือกผลิตสินค้าชนิดเดียวที่ประเทศนั้นมีความถนัดมากกว่า และให้อีกประเทศหนึ่งผลิตสินค้าอีกชนิดแทน แต่ไม่ได้หมายความว่าต้อเลือกผลิตสินค้าชนิดเดียวกันอย่างเดียวเท่านั้น แต่ประเทศที่ได้เปรียบยังสามารถแบ่งผลิตสินค้าทั้งสอง ให้มีผลผลิตโดยรวมมากที่สุดได้
ตัวอย่าง
ประเทศไทยและประเทศมาเลเซีย ผลิต ข้าวและยางพารา โดยมีปัจจัยการผลิตคือแรงงานเท่ากัน คือ 800 คน
ในการผลิตข้าว 10 ตัน และการผลิตยางพารา 10 ตัน
ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ความได้เปรียบ
ข้าว 20 30 2:3
ยางพารา 20 25 2:2.5
หากแต่ละประเทศเลือผลิตสินค้าทั้ง 2 ชนิด ด้วยแรงงานอย่างละครึ่งจะได้ว่า
ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ผลผลิตโดยรวม
ข้าว 400/20=20 400/30=13.3 33.3x10=333
ยางพารา 400/20=20 400/25=16 36x10=360
หากเลือกผลิตตามทฤษฎีนี้ ประเทศไทยควรผลิตข้าว เพราะเปรียบกว่าผลิตยางพารา
ประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย ผลผลิตโดยรวม
ข้าว 680/20=34 0 34x10=340
ยางพารา 120/20=6 800/25=32 38x10=380
พบว่า ผลผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น หากประเทศไทยเลือกผลิตข้าว 680 คน และอีก 120 คนผลิตยางพารา ส่วนประเทศมาเลเซียเลือผลิตยางพาราเพียงอย่างเดียวจะทำให้ ผลผลิตโดยรวมของข้าวเพิ่ม 340-333=7 ตัน
ผลผลิตของยางพาราเพิ่ม 380-360 =20 ตัน
หากไทยขายข้าวให้มาเลเซีย 135 ตัน ไทยจะเหลือข้าวไว้กินเอง 205 ตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมทั้งคู่ และไทยสามรถซื้อยางพาราจากมาเซีย 150 ตัน ทำให้มาเลยเซียมียางพาราเหลือ 170 ตัน ซึ่งมากกว่าเดิม 10 ตัน
ทฤษฎีของแฮกเชอร์ ออแลง (Heckscher - Ohlin)
ทฤษฎีนี้เกี่ยวกับการพิจารณาปัจจัยด้านต่างๆ ในการผลิตสินค้าชนิดใดๆ ที่ได้เปรียบประเทศอื่น คือ เน้นปัจจัยที่ตนได้เปรียบเป็นหลัก เช่น ประเทศที่มีทุน มีเทคโนโลยีชั้นสูง ก็ควรผลิตสินค้าที่เป็นไฮเทคโนโลยี ส่วนประเทศที่มีดิน น้ำ อุดมสมบูรณ์ ก็ควร ผลิตสินค้าเกษตรกรรม เป็นต้น
ผู้โต้แย้งทฤษฎีนี้คือ ลีอองเทีย โดยให้ข้องสังเกตว่า ประเทศสหรัฐฯ แม้มีทุนในระดับสูง แต่กลับมีการส่งออกสินค้าพื้นฐานในการอุปโภค บริโภค ทั่วไป
นอกจากนี้ก็มีข้อสังเกตุว่า ประเทศไทยแม้ไม่มีเทคโนโลยีของตัวเอง แต่กลับเป็นผู้ผลิตและส่งออกสินค้าที่เป็นเทคโนโลยี เช่น รถยนต์ และ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ คอมพิวเตอร์เป็นต้น
-ทฤษฎีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (The Product Life Cycle)
รูปแบบของการค้าระหว่างประเทศส่วนมากเกิดจากประเทศที่มีการพัฒนาก่อนแล้วค่อยกระจายตัวไปยังประเทศอื่นๆ และ ราคาก็ลดลงไป จนกระทั่งหมดความนิยม
แบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่
1.Introduction สินค้าเริ่มเข้าสู่ตลาด มีราคาส่วนใหญ่จะสูง เพราะตต้นทุนต่อหน่วยยังคงสูงอยู่ อีกทั้งยังคงใหม่มีน้อย หายาก จึงราคาสูง
2.Growth ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วซึ่งมีอัตราสูงสุด และมีความนิยมในตัวสินค้าเป็นอย่างมาก
3. Maturity ยอดขายเพิ่มขึ้นสูงสุด แต่อัตราต่ำกว่าช่วงที่ 2 ซึ่ง มีการใช้กลยุทธต่างๆ เช่น การโฆษณา สินค้ามีราคาลดลง เพราะ ต้นทุนต่อหน่วยลดลง และ มีการลอกเลียนแบบสินค้ามาจำหน่าย
4. Decline ขั้นนี้ยอดขายลดลง ราคาอาจลดลงมากยิ่งขึ้น สินค้าเริ่มหมดความนิยมและ ต้องมีการพัฒนาสินค้าใหม่ขึ้นมาแทน
แต่ยังมีข้อโต้แย้งอยู่บ้างเพราะสินค้าบางชนิดก็ไม่เป็นไปตามทฤษฎีนี้
-ทฤษฎีความได้เปรียบในการแข่งขันระหว่างประเทศ (National Competitive Advantage)ผ
ผู้เสนอแนวคิดนี้ ชือ Porter ซึ่งมีองค์ประกอบ 4 อย่าง คือ
1. Factor Endowment (ปัจจัยที่เป็นเจ้าของ หรือปัจจัยความพร้อมของการผลิต)
2.Demand Conditions (เงื่อนไขความต้องการของสินค้า)
3.Relating and Support Industries ( อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องและสนับสนุน)
4.Firm Strategy Structure and Rivalry (กลยุทธ์โครงสร้างและการแข่งขันของธุรกิจ)