วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

วัฒนธรรมกับการจัดการระหว่างประเทศ (1)

วัฒนธรรม คือ วิถีทางการดำเนินชีวิต ประเพณี ค่านิยม ความเชื่อ ทัศนคติ ของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งสืบทอดมา จากรุ่นสู่รุ่น
วัฒนธรรม มีเกาะกลุ่มกันระดับหนึ่ง แต่สามารถเปลี่ยนแปลง ได้เสมอ ซึ่งส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีกว่า
วัฒนธรรมแต่ละสังคมแตกต่างกัน อิทธิพลที่ทำให้วัฒนธรรมเปลี่ยนแปลง ได้แก่
1.คน
2.เศรษฐกิจ
3.สังคม
4.การเมือง
5.เทคโนโลยี

แนวทางที่ทำให้รู้จักวัฒนธรรม คือต้องเปิดใจให้กว้างและยอมรับความแตกต่าง
แม้ วัฒนธรรมของสังคมหนึ่งๆจะมีลักษณะเฉพาะ แต่คนในสังคมนั้นๆ ก็มิได้เหมือนกันหมดเพราะแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตัวเอง

ประเภทของวัฒนธรรม แบ่งตามหลักสากล คือ ใช้ประเทศเป็นตัวแบ่ง เพราะทำให้เห็นภาพได้ชัด เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมจีน ย่อมทำให้เราเห็นภาพชัด ตามลักษณะวัฒนธรรมของประเทศไทยหรือจีน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

วัฒนธรรมไทย มีข้อดี เช่น เป็นมิตร ยิ้มเก่ง สุภาพอ่อนน้อม มีน้ำใจ
ส่วนข้อเสีย คือ เป็นคนง่ายๆ ทำให้ขาดระเบียบ

แพททริกส์ เพื่อนของอาจารย์ชาวเยอรมัน บอกว่า กลัวการข้ามถนนในเมืองไทยมาก

อายุที่คนเราเริ่มมีวัฒนธรรมอย่างเห็นได้ชัดคือ ตั้งแต่ 10 ขวบขึ้นไป

ลักษณะการเกิดวัฒนธรรมมี 2 แบบ
1. Choice คือ สิ่งที่เราเลือก ว่าจะรับค่านิยมอะไร หรือื จะเชื่อสิ่งใด
2.Imposition คือ สิ่งที่คนอื่นใส่มาให้เรา เช่น คำสอนของพ่อแม่ ที่เราปฎิบัติตาม

คำที่ควรรู้
Culture Imperialism คือ วัฒนธรรมล่าอาณานิคม
Culture War คือ สงครามทางวัฒนธรรม
Creolization คือ การกลืนกินชาตอื่นด้วยวัฒนธรรม
ประเทศเกาหลีใต้ในปัจจุบันเป็นตัวอย่างในการกลืนกินชาติอื่นด้วยวัฒนธรรม อันได้แก่วัฒนธรรม สมัยใหม่ผ่าน สื่อ ต่างๆ เช่น ภาพยนต์ เพลง และอื่นๆ

มีคำพูดของคนสหรัฐอเมริกาคนหนึ่งกล่าวว่า วิธีชนะสงครามทางเศรษฐกิจ ต้องชนะสงครามทางวัฒนธรรม ทำให้สหรัฐอเมริกา ผลิตภาพยนต์ส่งขายทั่วโลก และประสบความสำเร็จในการเผยแพร่วัฒนธรรมอเมริกาไปทั่วโลก

องค์ประกอบทางวัฒนธรรม
1.ภาษา (Language)แบ่งเป็นภาษาที่ใช้ถ้อยคำ ภาษาท่าทาง และภาษาที่ใช้สัญลักษณ์ ภาษาแบบใช้ถ้อยคำที่มีคนใช้มากที่สุดคือ จีนกลาง รองลงมาคือ ฮินดี เสปน และอังกฤษ การใช้ภาษาต้องคำนึงถึงระยะห่างของการสื่อสารด้วย เพราะแต่ละวัฒนธรรม มีไม่เหมือนกัน
2.ศาสนา (Religion) เช่น ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม พระพุทธศานา ขงจื้อ ชินโต เป็นต้น
3.วัฒนธรรมทางวัตถุ (Material Culture)ได้แก่วัตถุสิ่ของต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมถึงความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการต่างๆ
4.การศึกษา (Education)ถือเป็นรากฐานของสังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมบุคคลในสังคม เพื่อเป็นปัจจัยในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ส่งผลหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ หรือ ทัศนคติของคนในสังคมนั้นๆ
5.องค์กรทางสังคม(Sociatal Organization)
6.ความรักสวยรักงามและรสนิยม (Aestetice)
7.ทัศนคติและความเชื่อ (Attitude and Beliefs)

กิจกรรม
อาจารย์ให้คิด ว่าประเทศไทยจะ Creolization ชาติอื่น ด้วยอะไรและอย่างไรได้บ้าง
กลุ่มผม
1.มวยไทย ผ่านภาพยนตร์ เช่น องค์บาก ที่ประสบความสำเร็จทั่วโลก และ การเปิดสำนักฝึกมวยในต่างประเทศ
2.อาหารไทย เช่น ต้มยำกุ้งที่เป็นที่รู้จัก ควรเปิดร้านอาหารไทย ที่เป็นเอกลักษณ์ให้เหมาะสมกับประเทศต่างๆ ดูตัวอย่างร้านอาหาร Fast Food (Macdonal) ถ้าเรามีร้านของไทยแบบนี้ไปทั่วโลก วัฒนธรรมด้านอาหารของเราจะสามารถกลืนกินวัฒนธรรมชาติอื่นได้
3.พระพุทะศาสนา ในแง่ศาสนา เรามีพระพุทะศาสนาเป็นที่ผึ่งอันประเสริฐ อันช่วยให้สังคมมีที่ยึดเหนี่ยวให้เกิดความอบอุ่นในจิตใจ ดังนั้นควรเผยแผ่ธรรมะ ของพระพุทะเจ้าไปทั่วโลก โดยการเผยแผ่ทางสือต่างๆ รวมถึงการเปิดสำนักปฎิบัติธรรมในประเทศอื่นๆ